
ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดสมุทรปราการ เป็นสถานศึกษาสังกัดราชการบริหารส่วนกลางจัดตั้งเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2527 เพื่อทำหน้าที่บริการและการจัดการศึกษานอกโรงเรียนให้แก่ประชาชน แต่เดินได้อาศัยห้องสมุดประชาชนจังหวัดสมุทรปราการเป็นสถานที่ทำงาน ต่อมาอาคารหลังนี้ได้ก่อสร้างเสร็จในปี พ.ศ.2534 จึงได้ย้ายที่ตั้งมาอยู่ที่ถนนสุขุมวิทแห่งนี้ตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ.2534 มาจนถึงปัจจุบัน
เป็นหน่วยงานทางการศึกษาที่มีหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนสถานศึกษาในสังกัด คือศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ หรือรู้จักกันทั่วไปในชื่อ กศน.อำเภอ มีจำนวน 6 แห่ง ประกอบด้วย กศน.อำเภอเมืองสมุทรปราการ กศน.อำเภอพระประแดง กศน.อำเภอบางพลี กศน.อำเภอพระสมุทรเจดีย์ กศน.อำเภอบางบ่อ และ กศน.อำเภอบางเสาธง นอกจากนี้มีสถานที่เป็นแหล่งเรียนรู้ในสังกัด กศน.อำเภอ อีกได้แก่ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดสมุทรปราการ ห้องสมุดประชาชนอำเภอ 5 แห่ง นอกจากนี้ยังมีบ้านหนังสือชุมชนที่เป็นความร่วมมือของชุมชนในการเพิ่มอัตราการอ่านของประชาชนในพื้นที่จำนวน 275 แห่ง
วันที่ 18 มีนาคม 2566 สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดสมุทรปราากร ได้เปลี่ยนชื่อเป็น สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ประจำจังหวัดสมุทรปราการ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 โดยใช้ชื่อย่อว่า “สำนักงาน สกร.ประจำจังหวัดสมุทรปราการ” สังกัดกรมส่งเสริมการเรียนรู้ กระทรวงศึกษาธิการ มีหน้าที่จัด ส่งเสริม และสนับสนุนการเรียนรู้ 3 รูปแบบ คือ 1. การเรียนรู้ตลอดชีวิต 2. การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาตนเอง 3. การเรียนรู้เพื่อคุณวุฒิตามระดับ และเปลี่ยนชื่อสถานศึกษาจากศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ เป็น ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอมีชื่อย่อว่า “สกร.ระดับอำเภอ”
วิสัยทัศน์ / Vision

"ชาวสมุทรปราการ
ได้รับโอกาสการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ สามารถดำรงชีวิตที่เหมาะสมกับช่วงวัย สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีทักษะที่จำเป็นในโลกศตวรรษที่ 21”
พันธกิจ / Mission

2. ส่งเสริม สนับสนุน และประสานภาคีเครือข่าย ในการมีส่วนร่วมจัดการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย และการเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมทั้งการดำเนินกิจกรรมของศูนย์การเรียนและแหล่งการเรียนรู้อื่น ในรูปแบบต่าง ๆ
3. ส่งเสริมและพัฒนาการนำเทคโนโลยีทางการศึกษา และเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ ในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ให้กับประชาชนในจังหวัดสมุทรปราการอย่างทั่วถึง
4. พัฒนาหลักสูตร รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สื่อและนวัตกรรม การวัดและประเมินผล ในทุกรูปแบบให้สอดคล้องกับบริบทในปัจจุบัน
5. พัฒนาบุคลากรและระบบการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ เพื่อมุ่งจัดการศึกษา และการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ โดยยึดหลักธรรมาภิบาล